วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

ภาพกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2556 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต โดยมีการดำเนินกิจกรรม KM แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การเรียนการสอน















ายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
และ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต



ประเด็นความรู้                 :  การเรียนการสอนทางด้านสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพ์พิวเตอร์และสารสนเทศ
หัวข้อการจัดการความรู้   : แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การเรียนการสอน
สรุปองค์ความรู้ที่ได้         :
1. เด็กที่เข้ามาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมักเป็นเด็กที่ระดับความรู้อ่อน จึงต้องใช้ความพยายามของอาจารย์อย่างมากในการสอนนักศึกษา
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีมีการเปิดรับนักศึกษาที่จบมาจากระดับชั้น ปวช.,ปสว. ทำให้ทางคณะต้องเปิดสาขาเพิ่มเพื่อรองรับความต้องการและรายวิชาที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษากลุ่มนี้
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีมีการเปิดรายวิชาที่ลงทะเบียนให้กับนักศึกษาแบบให้นักศึกษาเลือกลงทะเบียนเอง แต่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตเปิดการลงทะเบียนให้นักศึกษาแบบบังคับตามรายวิชาการเรียน
4. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อาจารย์มีจำนวนชั่วโมงสอนเยอะและจำนวนอาจารย์ไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องจ้างอาจารย์อัตราจ้าง โดยใช้งบประมาณของมหาวิทยาลัย แต่มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตจ้างอาจารย์อัตราจ้างโดยเงินมหาวิทยาลัย 20% และเงินของคณะ 80%
5. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ยังไม่มีโครงการที่จะเปิดสอนในระดับปริญญาเอก
6. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ระบบการเรียนการสอนแบบ e-Learning ยังไม่ได้มีการนำมาใช้มาก

 นางสาวธิราธร  เกตุสัตบรรณ
ผู้จดบันทึก

รายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเรียนการสอนทางด้านสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม


รายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
และ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต



ประเด็นความรู้                 :  การเรียนการสอนทางด้านสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
หัวข้อการจัดการความรู้   :  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การเรียนการสอน
สรุปองค์ความรู้ที่ได้      :
1.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีเปิดรับนักศึกษาที่เรียนจบระดับ ปวช./ปวส. โดยเปิดสาขาวิชาที่เหมาะสม พร้อมทั้งให้คำปรึกษาแนวทางการเรียนต่อเพื่อให้ตรงกับสายวิชาที่เรียนมา
2. การฝึกงานของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีนั้น เน้นให้นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ไปฝึกงาน เพื่อนักศึกษาได้มองเห็นแนวทางในการประกอบอาชีพต่อไป
3. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี รับสมัครนักศึกษาไม่จำกัดจำนวน แต่สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เปิดรับสมัครได้ 50 คนเท่านั้น
4. การขอทุนสำหรับวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีหลายขั้นตอนและเป็นไปได้ยากในการขอทุนวิจัย
5. นักศึกษาของสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ฯมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มักจะติด 0 ในวิชาแกนหลักของสาขาวิชา
6. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี พยายามช่วยเหลือนักศึกษาที่เข้ามาเรียนให้สามารถเรียบจบทุกคน จึงมีนักศึกษาที่โดนรีไทน์น้อย แต่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตนั้น แต่ละปีมีจำนวนนักศึกษาที่โดนรีไทน์ 700 กว่าคนต่อปี
7. นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีนักศึกษาทั้งลาว เวียดนาม และชาติอื่นๆมาเรียนพอสมควร

นางสาวมัญชุพร  พร้อมมูล
                                                                                                                                                   ผู้จดบันทึก

การพัฒนาและสนับสนุนการเรียนการสอน หัวข้อการจัดการความรู้ : สร้างคนด้วยมือเรา


รายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2555
การจัดการความรู้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

ประเด็นความรู้                 :  การพัฒนาและสนับสนุนการเรียนการสอน
หัวข้อการจัดการความรู้   :  สร้างคนด้วยมือเรา
ประธานกลุ่มจัดการความรู้             รศ.ดร.อุมา  ประวัติ
ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้        1. นายรังสรรค์  พลสมัคร
         2. นายบัณฑิตย์  อันยงค์                                       
                                                        3. นายกิตติศักดิ์  จิตต์เกื้อ
                                                       4. นายสมพงศ์ บุญศรี
                                                       5. นายอัครพล  บุตรสุริย์
                                                      6. นางสาวสิริโสภา  จุนเด็น
                                                     7. นางนัฎฐพร  อนิสงค์
                                                     8. นายวีรวัฒน์  อินทรทัต
     9.นางสาวชาลินี  ถังมณี
   10.นางสาวปรียานุช ทองภู่
สรุปองค์ความรู้ที่ได้      :
1.เด็กทุกคนสามารถพัฒนาได้ โดยนักศึกษาที่มีผลการเรียนอ่อน อาจารย์ผู้สอนอาจปูพื้นฐานการเรียนใหม่ พยายามสอนเพิ่ม สอนซ้ำ ให้การบ้าน หรือบททดสอบบ่อยๆ
2. อาจารย์ผู้สอนต้องมีความจริงใจ เข้าใจในตัวนักศึกษา หาความสามารถที่เป็นจุดเด่นและพยายามส่งเสริมนักศึกษา
3.สอนให้นักศึกษาเรียนหนังสือเป็น สอนการอ่าน การเรียน เพื่อให้นักศึกษาจับแนวทางการเรียนได้อย่างถูกทาง
4. ชี้แนะแนวทาง อนาคตให้แก่นักศึกษา ไม่ดูถูกความสามารถของนักศึกษา
5.ไม่โกรธเมื่อตนเองถูกนินทา ไม่หวังสิ่งตอบแทนในการทำงาน
6.หลักการทำงานต้องเสริมสร้างความรู้ให้กับตัวเอง รู้และเข้าใจงาน เพื่อพัฒนางานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
7. เห็นคุณค่าในงานที่ทำ เพื่อสร้างความสุขในการทำงาน
8. รู้จักแก้ปัญหาในการทำงาน สร้างงาน (ขยัน ) ให้มากขึ้นเรื่อยๆ



                                                นางสาวชาลินี  ถังมณี
                                                                                                 ผู้จดบันทึก



วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

ภาพกิจกรรม ประเด็นความรู้ "การบริหารจัดการสำนักงานคณบดี"


                                       ภาพกิจกรรม ประเด็นความรู้ "การบริหารจัดการสำนักงานคณบดี"




การบริหารจัดการสำนักงานคณบดี หัวข้อการจัดการความรู้ : ทำงานอย่างไรให้คนสำราญ งานสำเร็จ


  รายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2555 
การจัดการความรู้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต



ประเด็นความรู้                 :  การบริหารจัดการสำนักงานคณบดี
หัวข้อการจัดการความรู้   :  ทำงานอย่างไรให้คนสำราญ งานสำเร็จ
ประธานกลุ่มจัดการความรู้             ดร.หิรัญ  ประสานการ
ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้        1. นายศุภวุฒิ              ศิริเกษ
                                                       2. นางวรรณดี              สวัสดิรักษ์
                                                       3. นางสาวศรีประไพ    เจริญสำราญ
                                                       4. นายศิริ                     เจริญใจ
                                                       5. นายพหล                  รงค์กุล
                                                       6. นางนารีรัตน์             บรรจงการ
                                                       7. นางอ้อยทิพย์           ไชยทอง
                                                       8. นางสาวธิราธร          เกตุสัตบรรณ
สรุปองค์ความรู้ที่ได้      :

        1. การที่เราจะทำงานให้มีความสุขนั้น ขึ้นอยู่กับตัวของเราเอง คือ ต้องตั้งใจทำงาน และงานที่ทำนั้นจะต้องไม่ให้ผู้บังคับบัญชาต้องเดือดร้อน
        2. การทำงานเราอย่ามัวแต่รอให้นายสั่ง
        3. ถ้าหากผู้บังคับบัญชาสั่งงาน 100 เราต้องทำงานให้เกินกว่า 100
        4. การทำงานจะต้องดำเนินการตามขั้นตอน การระบบ ซึ่งจะทำให้เราทำงานโดยไม่มีข้อผิดพลาด
        5. การทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องเราจะต้องรู้ระเบียบ และต้องแม่นยำในระเบียบต่างๆ
        6. การทำงานเราจะต้องทำงานให้มาก ถ้าหากเกิดความผิดพลาด  ผู้บังคับบัญชาก็ยังยอมรับได้ และให้อภัย
        7. การทำงานนั้นจะต้องจัดเรียงลำดับความสำคัญของงานว่างานไหนเร่งด่วนเราต้องทำก่อน
        8. เราจะต้องคิดนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เราทำงานได้สะดวก รวดเร็วขึ้น
        9. งานที่เราทำนั้นถ้าหากเกิดปัญหาหรืออุปสรรค เราควรที่จะต้องนำปัญหาหรืออุปสรรคนั้นๆไปถอดเป็นบทเรียน เช่น การวิจัยการดำเนินงาน
     10. การทำงานที่ให้มีความสุขนั้นเราต้องดำเนินงานตามระบบที่เราวางไว้
     11. องค์กรจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คือ คน โดยมีหลักง่ายๆบุคลากรจะต้อง รู้งาน รู้คน และรู้ตน
     12. การทำงานให้มีความสุขนั้น เราต้องดำเนินการตามระบบ PDCA คือ จัดทำแผนงาน /โครงการ
     13. วิธีที่ดีที่สุดจากการทำงานให้มีความสุข นั้นให้คิดว่าการมาทำงานทุกวัน คือการมาพักผ่อน
     14. ในการทำงานนั้นเราต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
               

                                                                                               นางวรรดี  สวัสดิรักษ์
                                                                                                     ผู้จดบันทึก