วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

รายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา 2556 ประเด็นความรู้ : การพัฒนางานวิจัย หัวข้อการจัดการความรู้ : การพัฒนางานวิจัยอย่างไรให้มีคุณภาพ

รายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ประจำปีการศึกษา 2556
การจัดการความรู้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
ประเด็นความรู้              :  การพัฒนางานวิจัย
หัวข้อการจัดการความรู้   :  การพัฒนางานวิจัยอย่างไรให้มีคุณภาพ
วันเดือนปีที่ดำเนินการ     :  30 สิงหาคม – 1 กันยายน 2556
ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้        1. ดร.ชาลินี ถังมณี
                                      2. นายจิตติพงษ์ สังข์ทอง
                                      3. ผศ.ดร.อนงนาฏ  ไพนุพงศ์
                                      4. ดร.พิเชษฏ์ จุลรอด
                                      5. ดร.อับดุลวาหาบ  สาและ
                                      6. นายธนกฤษ จันทร์แสง
                                      7. ผศ.ดร.ผุสดี พรผล
                                                          
สรุปองค์ความรู้ที่ได้      : การพัฒนางานวิจัยอย่างไรให้มีคุณภาพ ผู้เข้าร่วมโครงการได้ถอดความรู้จากประเด็นความรู้การพัฒนางานวิจัย โดยมีกระบวนการให้งานวิจัยมีคุณภาพดังนี้
1. กำหนดหัวข้อ อาจจะมาจากความสนใจ หรือ จากปัญญาที่พบเห็น แล้วหาแนวทางในการแก้ปัญหา
2. หาข้อมูลจาก Paper เพื่อให้ได้ปัญหา และกำหนดปัญหา วางแนวทางในการแก้ไขปัญหา
3.ตั้งเป้าหมายการทำวิจัย ทำแล้วใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ กลุ่มใดได้รับประโยชน์
3. เขียนโครงร่างวิจัย สามารถมองเห็นวิธีการแก้ปัญหาและครอบคลุมตามเป้าหมาย
4. หาแหล่งทุนมาสนับสนุนงานวิจัย
5.ดำเนินงานวิจัย
6. สร้าง Connection เพื่อ Discussion ในงานเรา ควรเป็นคนที่อยู่ นอกองค์กร โดยเป็นคนที่เก่งกว่าเรา
7. หาที่เผยแพร่งานเรา เพื่อการตีพิมพ์ และ Guaranty งานเรา โดยดู  Conference ที่น่าเชื่อถือ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จ :     1. การมีส่วนร่วมของทีม อย่างจริงจัง ทำให้งานเดินไปข้างหน้า
                                      2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                                      3. งบประมาณ
                                      4. การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา หรือการจัดสรรเวลาให้เหมาะสม
                                      5. ตัวผู้ทำ หรือ ใจ

                                      6. การสนับสนุน โดยมีเครือข่าย

รายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา 2556 ประเด็นความรู้ : การพัฒนางานบริการวิชาการแก่สังคม หัวข้อการจัดการความรู้ : การบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

รายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ประจำปีการศึกษา 2556
การจัดการความรู้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
ประเด็นความรู้              :  การพัฒนางานบริการวิชาการแก่สังคม
หัวข้อการจัดการความรู้   :  การบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน
วันเดือนปีที่ดำเนินการ     :  30 สิงหาคม – 1 กันยายน 2556
ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้        1. นายกิตติศักดิ์            จิตต์เกื้อ
                                      2. นายณัฎฐพงศ์           ถือดำ
                                      3. นางสาวแสงระวี        เสนาวงศ์วิวัฒน์
                                      4. นางสายสนิท           พงศ์สุวรรณ
                                      5.ดร.ปรียานุช             ทองภู่
                                      6 ดร.ปาวลี                ศรีสุขสมวงศ์
                                      7. ดร.ลลิตา                แก่นหิน
                                      8. นางสาวมัญชุพร        พร้อมมูล
                                        
สรุปองค์ความรู้ที่ได้      : การพัฒนางานบริการวิชาการแก่สังคม ผู้เข้าร่วมโครงการได้ถอดความรู้จากประเด็นความรู้การบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน ดังนี้
1.       มีแหล่งงบประมาณสนับสนุน
2.       มีเป้าหมายในการพัฒนา และเล็งเห็นแนวโน้มการพัฒนาที่เป็นไปได้
3.       สามารถตอบสนองตรงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
4.       สามารถนำความรู้ในแต่ละสาขาวิชาไปประกอบกับการให้ความรู้ของชาวบ้านได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จ :
1.       รับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจากเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงานนั้นๆ
2.       เข้าถึงชุมชนและมีการติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ
3.       ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่เป็นภาษาทางวิชาการจนเกินไปในการให้คำแนะนำ/ปรึกษาแก่ชาวบ้าน

4.       สร้างความเป็นกันเองกับคนในชุมชน

รายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา 2556 ประเด็นความรู้ : การพัฒนาบริหารจัดการ หัวข้อการจัดการความรู้ : วิธีการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพจากการปฏิบัติงาน

รายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ประจำปีการศึกษา 2556
การจัดการความรู้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
ประเด็นความรู้              :   การพัฒนาบริหารจัดการ
หัวข้อการจัดการความรู้   :  วิธีการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพจากการปฏิบัติงาน
วันเดือนปีที่ดำเนินการ     :  30 สิงหาคม – 1 กันยายน 2556
ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้        1. นางวรรณดี              สวัสดิรักษ์
                                      2. นางอ้อยทิพย์           ไชยทอง
                                      3. นางสาวศรีประไพ      เจริญสำราญ
                                      4. นางสาวอรอนงค์        นวลศรี
                                      5. นางสาวธิราธร          เกตุสัตตบรรณ
                                      6. นายศิริ                  เจริญใจ
                                        
สรุปองค์ความรู้ที่ได้      : การพัฒนาบริหารจัดการ ผู้เข้าร่วมโครงการได้ถอดความรู้จากประเด็นความรู้วิธีการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพจากการปฏิบัติงาน ดังนี้
1.       รักษาระเบียบวินัยในการทำงาน
2.       งานเสร็จทันเวลา
3.       ผลงานได้มาตรฐาน
4.       ทำความเข้าใจและกำหนดแนวคิดในการทำงานให้กระจ่าง
5.       กำหนดมาตรฐานที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือแก่การสอนงานได้
6.       ให้บำเหน็จแก่งานที่ดี

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จ :  การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดความสุขระหว่างผู้ร่วมงานและตัวเอง จำเป็นต้องใช้แนวทางและวิธีการในการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถสรุปเป็นแนวปฏิบัติได้คือ
1.       การทำตัวให้เป็นคนงานที่ดี ในการทำงานนั้นเราจะต้องรู้จักหน้าที่และมีความรับผิดชอบ ขยันและขวนขวายแสวงหาความรู้อยู่เสมอทำตัวให้เป็นที่รักของผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
2.       การรักษามารยาทและระเบียบในที่ทำงานการปฏิบัติงานโดยยึดถือระเบียบ เคารพกติกามารยาทจะช่วยให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่นและทำให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ
3.       การสร้างบรรยากาศสดใสในที่ทำงาน การช่วยกันสร้างบรรยากาศที่สดใส เอื้ออาทร สามัคคีในที่ทำงาน จะช่วยทำให้เกิดรอยยิ้มในที่ทำงาน ทำให้เกิดความสุขและประสิทธิภาพในการทำงาน

4.       การสร้างสัมพันธภาพที่ดี การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน ทั้งในระดับผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา จะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นเกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน

รายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา 2556 ประเด็นความรู้ : การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ หัวข้อการจัดการความรู้ : เทคนิคการสอน

รายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ประจำปีการศึกษา 2556
การจัดการความรู้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
ประเด็นความรู้              :  การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ
หัวข้อการจัดการความรู้   :  เทคนิคการสอน
วันเดือนปีที่ดำเนินการ     :  30 สิงหาคม – 1 กันยายน 2556
ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้         1. ดร.บัณฑิตย์             อันยงค์
                                       2. ผศ.นิติญา               สังขนันท์
                                                3. ดร.พีรพงษ์              พึ่งแย้ม
                                      4. ดร.ป.ปัทมา             เหมมาชูเกียรติกุล
                                      5. นางสาวฐิตติมา         ธัญญานิติ
                                      6. นายหาญพล            มิตรวงศ์
                                      7. นายอนันต์              สันติอมรทัต
สรุปองค์ความรู้ที่ได้      : เทคนิคการสอนที่สร้างความเข้าใจเป็นขั้นตอนโดยถอดบทเรียนประเด็นความรู้ การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ หัวข้อการจัดการความรู้ เทคนิคการสอนทำอย่างไรให้ผู้เรียนได้รับความรู้อย่างมีคุณภาพ ดังนี้
1.       ทบทวนเนื้อหาก่อนเรียน
2.       ทดสอบก่อนการเรียน
3.       สร้างความเป็นกันเองกับผู้เรียน
4.       การนำเสนอรายงานกลุ่ม
5.       ใช้เทคนิคเพื่อนสอนเพื่อนเป็นรายบุคคล
6.       การดูงานและศึกษานอกสถานที่
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จ :
1.       วิธีการอภิปรายกลุ่มย่อย  การนิรนัย  การสาธิต และการบรรยาย
2.       ใช้เทคนิคการอธิบายและยกตัวอย่าง  การใช้วาจากิริยาท่าทางและสื่อความหมาย   การใช้สื่อการสอน
3.       การฝึกและการปฏิบัติ  การสรุป  การพัฒนาการคิด  การสอดแทรกคุณธรรม  จริยธรรมในชั้นเรียน

4.       การใช้กระบวนการกลุ่ม  และการสร้างอารมณ์ขัน

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

จดหมายข่าวจาก ScienceKM ฉบับที่ 10 เดือนกันยายน 2556

ประโยชน์ของการจัดการความรู้

1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร
2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา ในกรณีที่บุคคลากรเกษียณอายุ ลาออก หรือเสียชีวิต
3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด
4. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่นๆ ในองค์กร และนำความรู้ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เป็นการการพัฒนาคน และพัฒนาองค์กร
5. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น เพราะมีสารสนเทศ หรือแหล่งความรู้เฉพาะที่มีหลักการ เหตุผล และน่าเชื่อถือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
6. ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ช่วยเพิ่มความกลมเกลียวในหน่วยงาน
7. เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที
8. แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน ซึ่งเป็นการสร้างความท้าทายให้องค์กรผลิตสินค้าและบริการจากความรู้ที่มี เพื่อเพิ่มคุณค่า และรายได้ให้กับองค์กร
9. เพื่อการสร้างสรรค์ และบรรลุเป้าหมายของจินตนาการที่ยิ่งใหญ่
10. เปลี่ยนวัฒนธรรม จาก วัฒนธรรมอำนาจในแนวดิ่ง ไปสู่วัฒนธรรมความรู้ในแนวราบ  ซึ่งทุกคนมีสิทธิในการเรียนรู้เท่าเทียมกัน

ทำไมต้องทำการจัดการความรู้ (KM)

1. เมื่อมีบุคคลเกษียณอายุ  ย้ายหรือลาออก  มักมีผลกระทบกับงาน
2. เวลามีปัญหาในการทำงาน ไม่ทราบว่าจะไปถามผ้ที่มีความรู้เรื่อง  นั้นๆ ได้ที่ไหน
3. ใช้เวลานานในการค้นหาข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่หาไม่ค่อยพบหรือไม่สมบูรณ์
4. มีข้อมูลสารสนเทศท่วมท้น  แต่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
5.  มีผู้ทรงความรู้มากมายแต่ไม่มีใครสนใจในการแบ่งปันและเพิ่มพูนความรู้
                                 **********