วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

จดหมายข่าวจาก ScienceKM ฉบับที่ 13 เดือนธันวาคม 2556

แนวคิดเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้
องค์การเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์การโดยเน้นการพัฒนาการเรียนรู้สภาวะของการเป็นผู้นำในองค์การ (Leadership) และการเรียนรู้ร่วมกัน ของคนในองค์การ (Team Learning) เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกัน และพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันการมีองค์การแห่งการเรียนรู้นี้จะทำให้องค์การและบุคลากร มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล โดยมีการเชื่อมโยงรูปแบบของการทำงานเป็นทีม (Team working) สร้างกระบวนการในการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลงเปิดโอกาสให้ทีมทำงานและมีการให้อำนาจในการตัดสินใจ (Empowerment) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการคิดริเริ่ม (Initiative) และ        การสร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งจะทำให้เกิดองค์การที่เข้มแข็ง พร้อมเผชิญกับสภาวะการแข่งขัน Learning Organization หรือ การทำให้องค์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นคำที่ใช้เรียกการรวมชุดของความคิดที่เกิดขึ้นมาจากการศึกษาเรื่องขององค์การ Chris Argyris ได้ให้แนวคิดทางด้าน Organization Learning ร่วมกับ Donald Schon ไว้ว่า เป็นกระบวนการที่สมาชิกขององค์การให้การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ด้วยการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเสมอ ๆ ในองค์การ Chris Argyris และ Donald Schon ได้ให้คำนิยามการเรียนรู้สองรูปแบบที่มีความสำคัญในการสร้าง Learning Organization คือ Single Loop Learning  (FirstOrder / Corrective Learning) หมายถึง การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นแก่องค์การเมื่อการทำงานบรรลุผลที่ต้องการลักษณะการเรียนรู้แบบที่สองเรียกว่า Double Loop Learning (Second Oder/Generative Learning)หมายถึงการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่ต้องการให้บรรลุผลหรือเป้าหมายไม่สอดคล้องกับผลการกระทำ
องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้
Peter Senge (1990) ได้กล่าวถึงวินัย 5 ประการที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการสร้างให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยวินัย 5 ประการนั้นมีดังนี้
 วินัยประการที่ 1:  การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic thinking) ทุกสิ่งนั้นมีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน ดังนั้นให้มองทุกอย่างในภาพรวม ไม่มองอย่างจับจดหรือมองแค่ภายในองค์กรของเรา แต่ต้องมองออกไปนอกกรอบ ไปถึงสภาพแวดล้อมภายนอกด้วย
 วินัยประการที่ 2: ความรอบรู้แห่งตนเอง (Personal mastery) การเรียนรู้ขององค์กรจะเกิดขึ้นได้เมื่อเกิดการเรียนรู้ระดับบุคคลในองค์กรขึ้นก่อน คนในองค์กรต้องพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ตัวเองถนัดอยู่แล้วหรือไม่ก็ตาม ยิ่งเรื่องที่ตัวเองถนัดหรือสนใจนั้นยิ่งต้องพัฒนา
วินัยประการที่ 3: แบบแผนความคิดอ่าน (Mental models) คนเราเกิดมาในสถานที่ที่ต่างกัน การเลี้ยงดูก็ต่างกัน สภาพแวดล้อมที่เติบโตขึ้นมาก็ต่างกันล้วนแล้วแต่เป็นเหตุให้แบบแผนแนวความคิดอ่านของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน การที่องค์กรจะมุ่งไปในทิศทางไหนนั้นขึ้นอยู่กับแบบแผนความคิดอ่านของคนส่วนใหญ่ในองค์กร ดังนั้นจำเป็นต้องบริหาร แนวคิดให้มีความเหมาะสม เพื่อนำพาให้องค์กรไปในทิศทางที่ดี
 วินัยประการที่ 4: การเสริมสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน  (Building shared vision) การจะทำให้ทั้งองค์กรสามารถมองภาพใน อนาคตที่องค์กรจะไปให้เป็นภาพเดียวกันทั่วทั้งองค์กรนั้น ในส่วนนี้ต้องอาศัยผู้บริหารเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะต้องคอยสื่อสารให้ ทั้งองค์กรนี้รับรู้ร่วมกันเกิดการยอมรับร่วมกัน และพร้อมใจร่วมมือ       มุ่งไปในทิศทางเดียวกัน
วินัยประการที่ 5: การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning)ความรู้บางอย่างนั้นไม่สามารถคิดขึ้นมาได้ หากปราศจากการร่วมมือร่วมใจคิดค้นขึ้นมาร่วมกัน และนอกจากนั้น การเรียนรู้เป็นทีมยังส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่เร็วยิ่งขึ้นกว่าการเรียนรู้โดยลำพัง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผู้บริหารสามารถเข้ามามีบทบาทที่จะคอยผลักดันให้เกิดการทำงานเป็นทีมส่งผลต่อการเรียนรู้เป็นทีม





สวัสดี
Science_KM Team


วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

จดหมายข่าวจาก ScienceKM ฉบับที่ 12 เดือนพฤศจิกายน 2556

การจัดการความรู
(Knowledge Management-KM)

    การจัดการความรู หรือที่เรียกยอๆ วา KM คือ เครื่องมือ เพื่อใชในการบรรลุเปาหมายอยางนอย 3
ประการไปพรอมๆ กัน ได้แก บรรลุเปาหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุ       เปาหมายการพัฒนาองคกรไปสูการเปนองคกรแห่งการเรียนรู

      ดังนั้นการจัดการความรูจึงไมใชเปาหมายในตัวของมันเอง เมื่อไรก็ตามที่มีการเขาใจผิด เอาการจัดการความรูเปนเปาหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเขามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรูเทียม หรือ ปลอม เปนการดำเนินการเพียงเพื่อให้ไดชื่อวามีการจัดการความรูเทานั้นเอง

แรงจูงใจในการริเริ่มการจัดการความรู

          แรงจูงใจแท ตอการดําเนินการจัดการความรู คือเปาหมายที่งาน คน และองคกร เปนเงื่อนไขสําคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสูความสําเร็จในการจัดการความรู้
 แรงจูงใจเทียม ตอการดําเนินการจัดการความรูในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ เป็นต้นเหตุที่นําไปสูการทําการจัดการความรูแบบเทียม และนําไปสูความลมเหลวในที่สุด เชน ทําเพราะถูกบังคับตามขอกําหนด กลาวคือ ทําเพียงเพื่อให้ได ชื่อวาทํา หรือทําเพื่อชื่อเสียง ทําใหภาพลักษณขององคกรดูดี หรือมาจากความตองการผลงานของหนวยยอยภายในองค์กร เชน หน่วยพัฒนาบุคลากร (HRD) หนวยสารและ สารสนเทศ (ICT) หรือหน่วย พัฒนาองค์กร (OD) ตองการใชการจดการความรู้ในการสรางความเดน หรือสรางผลงานของตน หรืออาจมาจากคนเพียงไม่กี่คน ที่ชอบของเลนใหมๆ ชอบกิจกรรมที่ดูทันสมัย เปนแฟชั่น แตไมเขาใจความหมายและวิธีการดําเนินการจัดการความรูอย่างแท้จริง

 ประเภทความรู

 ความรูอาจแบ่งใหญ่ๆ ได ๒ ประเภท คือ
๑. ความรูเดนชัด (Explicit Knowledge) เปนความรูที่อยูในรูปแบบที่เปนเอกสาร หรือ วิชาการ อยูในตํารา คูมือปฏิบัติงาน
๒. ความรูซอนเรน (Tacit Knowledge)  เปนความรูที่แฝงอยูในตัวคน  เปนประสบการณที่สั่งสมมายาวนาน เปนภูมิปญญา โดยที่ความรูทั้ง ๒ ประเภทนี้มีวิธีการจัดการที่แตกตางกัน  การจัดการ ความรูเดนชัดจะเน้นไปที่การเข้าถึงแหลงความรู ตรวจสอบ และตีความได เมื่อนําไปใช้แลวเกิดความรู้ใหม่ก็นํามาสรุปไว เพื่อใชอางอิง หรือใหผูอื่นเขาถึงไดตอไป  สวนการจัดการ ความรูซอนเรนนั้นจะเนนไปที่การจัดเวทีเพื่อใหมีการแบงปนความรูที่อยูในตัวผูปฏิบัติ ทําใหเกิดการเรียนรูรวมกัน อันนําไปสูการสรางความรูใหม ที่แตละคนสามารถนําไปใชในการปฏิบัติงานไดตอไป

ชีวิตจริง ความรู ๒ ประเภทนี้จะเปลี่ยนสถานภาพ สลับปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา บางครั้ง Tacit ก็ออกมาเปน Explicit และบางครั้ง Explicit ก็เปลี่ยนไปเปน Tacit

สวัสดี

Science_KM Team

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

จดหมายข่าวจาก ScienceKM ฉบับที่ 11 เดือนตุลาคม 2556

กระบวนการจัดการความรู้
(Knowledge Management Process)

      เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้  หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร  ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้

1)   การบ่งชี้ความรู้ เช่นพิจารณาว่า วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมาย คืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องรู้อะไร , ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง, อยู่ในรูปแบบใด, อยู่ที่ใคร
2)   การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่, แสวงหาความรู้จากภายนอก, รักษาความรู้เก่า, กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3)   การจัดความรู้ให้เป็นระบบ - เป็นการวางโครงสร้างความรู้  เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบในอนาค
4)   การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่นปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน, ใช้ภาษาเดียวกัน, ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5)   การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT), Web board ,บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6)   การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร, ฐานความรู้, เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน, กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม, ชุมชนแห่งการเรียนรู้, ระบบพี่เลี้ยง, การสับเปลี่ยนงาน, การยืมตัว, เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7) การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จาก  สร้างองค์ความรู้>นำความรู้ไปใช้>เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process)

เป็นกรอบความคิดแบบหนึ่งเพื่อให้องค์กรที่ต้องการจัดการความรู้ภายในองค์กร   ได้มุ่งเน้นถึงปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กร ที่จะมีผลกระทบต่อการจัดการความรู้  ประกอบด้วย  6 องค์ประกอบ  ดังนี้
1) การเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม -   เช่น กิจกรรมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากผู้บริหาร (ที่ทุกคนมองเห็น), โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร, ทีม/ หน่วยงานที่รับผิดชอบ, มีระบบการติดตามและประเมินผล , กำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จชัดเจน
2) การสื่อสาร เช่น กิจกรรมที่ทำให้ทุกคนเข้าใจถึงสิ่งที่องค์กรจะทำ, ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน, แต่ละคนจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร
3) กระบวนการและเครื่องมือ  - ช่วยให้การค้นหา  เข้าถึง ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้สะดวกรวดเร็วขึ้น โดยการเลือกใช้กระบวนการและเครื่องมือ ขึ้นกับชนิดของความรู้, ลักษณะขององค์กร (ขนาดสถานที่ตั้ง ฯลฯ), ลักษณะการทำงาน, วัฒนธรรมองค์กร, ทรัพยากร
4)  การเรียนรู้   - เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและหลักการของการจัดการความรู้ โดยการเรียนรู้ต้องพิจารณาถึง เนื้อหา, กลุ่มเป้าหมาย, วิธีการ, การประเมินผลและปรับปรุง

5)      การวัดผล  - เพื่อให้ทราบว่าการดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่, มีการนำผลของการวัดมาใช้ในการปรับปรุงแผนและการดำเนินการให้ดีขึ้น, มีการนำผลการวัดมาใช้ในการสื่อสารกับบุคลากรในทุกระดับให้เห็นประโยชน์ของการจัดการความรู้  และการวัดผลต้องพิจารณาด้วยว่าจะวัดผลที่ขั้นตอนไหนได้แก่ วัดระบบ (System), วัดที่ผลลัพธ์ (Out put) หรือวัดที่ประโยชน์ที่จะได้รับ (Out come)

6) การยกย่องชมเชยและให้รางวัล  - เป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในทุกระดับ โดยข้อควรพิจารณาได้แก่ ค้นหาความต้องการของบุคลากร, แรงจูงใจระยะสั้นและระยะยาว, บูรณาการกับระบบที่มีอยู่, ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับกิจกรรมที่ทำในแต่ละช่วงเวลา





สวัสดี
Science_KM Team


วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

รายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา 2556 ประเด็นความรู้ : การพัฒนางานวิจัย หัวข้อการจัดการความรู้ : การพัฒนางานวิจัยอย่างไรให้มีคุณภาพ

รายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ประจำปีการศึกษา 2556
การจัดการความรู้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
ประเด็นความรู้              :  การพัฒนางานวิจัย
หัวข้อการจัดการความรู้   :  การพัฒนางานวิจัยอย่างไรให้มีคุณภาพ
วันเดือนปีที่ดำเนินการ     :  30 สิงหาคม – 1 กันยายน 2556
ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้        1. ดร.ชาลินี ถังมณี
                                      2. นายจิตติพงษ์ สังข์ทอง
                                      3. ผศ.ดร.อนงนาฏ  ไพนุพงศ์
                                      4. ดร.พิเชษฏ์ จุลรอด
                                      5. ดร.อับดุลวาหาบ  สาและ
                                      6. นายธนกฤษ จันทร์แสง
                                      7. ผศ.ดร.ผุสดี พรผล
                                                          
สรุปองค์ความรู้ที่ได้      : การพัฒนางานวิจัยอย่างไรให้มีคุณภาพ ผู้เข้าร่วมโครงการได้ถอดความรู้จากประเด็นความรู้การพัฒนางานวิจัย โดยมีกระบวนการให้งานวิจัยมีคุณภาพดังนี้
1. กำหนดหัวข้อ อาจจะมาจากความสนใจ หรือ จากปัญญาที่พบเห็น แล้วหาแนวทางในการแก้ปัญหา
2. หาข้อมูลจาก Paper เพื่อให้ได้ปัญหา และกำหนดปัญหา วางแนวทางในการแก้ไขปัญหา
3.ตั้งเป้าหมายการทำวิจัย ทำแล้วใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ กลุ่มใดได้รับประโยชน์
3. เขียนโครงร่างวิจัย สามารถมองเห็นวิธีการแก้ปัญหาและครอบคลุมตามเป้าหมาย
4. หาแหล่งทุนมาสนับสนุนงานวิจัย
5.ดำเนินงานวิจัย
6. สร้าง Connection เพื่อ Discussion ในงานเรา ควรเป็นคนที่อยู่ นอกองค์กร โดยเป็นคนที่เก่งกว่าเรา
7. หาที่เผยแพร่งานเรา เพื่อการตีพิมพ์ และ Guaranty งานเรา โดยดู  Conference ที่น่าเชื่อถือ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จ :     1. การมีส่วนร่วมของทีม อย่างจริงจัง ทำให้งานเดินไปข้างหน้า
                                      2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                                      3. งบประมาณ
                                      4. การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา หรือการจัดสรรเวลาให้เหมาะสม
                                      5. ตัวผู้ทำ หรือ ใจ

                                      6. การสนับสนุน โดยมีเครือข่าย

รายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา 2556 ประเด็นความรู้ : การพัฒนางานบริการวิชาการแก่สังคม หัวข้อการจัดการความรู้ : การบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

รายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ประจำปีการศึกษา 2556
การจัดการความรู้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
ประเด็นความรู้              :  การพัฒนางานบริการวิชาการแก่สังคม
หัวข้อการจัดการความรู้   :  การบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน
วันเดือนปีที่ดำเนินการ     :  30 สิงหาคม – 1 กันยายน 2556
ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้        1. นายกิตติศักดิ์            จิตต์เกื้อ
                                      2. นายณัฎฐพงศ์           ถือดำ
                                      3. นางสาวแสงระวี        เสนาวงศ์วิวัฒน์
                                      4. นางสายสนิท           พงศ์สุวรรณ
                                      5.ดร.ปรียานุช             ทองภู่
                                      6 ดร.ปาวลี                ศรีสุขสมวงศ์
                                      7. ดร.ลลิตา                แก่นหิน
                                      8. นางสาวมัญชุพร        พร้อมมูล
                                        
สรุปองค์ความรู้ที่ได้      : การพัฒนางานบริการวิชาการแก่สังคม ผู้เข้าร่วมโครงการได้ถอดความรู้จากประเด็นความรู้การบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน ดังนี้
1.       มีแหล่งงบประมาณสนับสนุน
2.       มีเป้าหมายในการพัฒนา และเล็งเห็นแนวโน้มการพัฒนาที่เป็นไปได้
3.       สามารถตอบสนองตรงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
4.       สามารถนำความรู้ในแต่ละสาขาวิชาไปประกอบกับการให้ความรู้ของชาวบ้านได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จ :
1.       รับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจากเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงานนั้นๆ
2.       เข้าถึงชุมชนและมีการติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ
3.       ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่เป็นภาษาทางวิชาการจนเกินไปในการให้คำแนะนำ/ปรึกษาแก่ชาวบ้าน

4.       สร้างความเป็นกันเองกับคนในชุมชน

รายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา 2556 ประเด็นความรู้ : การพัฒนาบริหารจัดการ หัวข้อการจัดการความรู้ : วิธีการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพจากการปฏิบัติงาน

รายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ประจำปีการศึกษา 2556
การจัดการความรู้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
ประเด็นความรู้              :   การพัฒนาบริหารจัดการ
หัวข้อการจัดการความรู้   :  วิธีการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพจากการปฏิบัติงาน
วันเดือนปีที่ดำเนินการ     :  30 สิงหาคม – 1 กันยายน 2556
ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้        1. นางวรรณดี              สวัสดิรักษ์
                                      2. นางอ้อยทิพย์           ไชยทอง
                                      3. นางสาวศรีประไพ      เจริญสำราญ
                                      4. นางสาวอรอนงค์        นวลศรี
                                      5. นางสาวธิราธร          เกตุสัตตบรรณ
                                      6. นายศิริ                  เจริญใจ
                                        
สรุปองค์ความรู้ที่ได้      : การพัฒนาบริหารจัดการ ผู้เข้าร่วมโครงการได้ถอดความรู้จากประเด็นความรู้วิธีการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพจากการปฏิบัติงาน ดังนี้
1.       รักษาระเบียบวินัยในการทำงาน
2.       งานเสร็จทันเวลา
3.       ผลงานได้มาตรฐาน
4.       ทำความเข้าใจและกำหนดแนวคิดในการทำงานให้กระจ่าง
5.       กำหนดมาตรฐานที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือแก่การสอนงานได้
6.       ให้บำเหน็จแก่งานที่ดี

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จ :  การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดความสุขระหว่างผู้ร่วมงานและตัวเอง จำเป็นต้องใช้แนวทางและวิธีการในการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถสรุปเป็นแนวปฏิบัติได้คือ
1.       การทำตัวให้เป็นคนงานที่ดี ในการทำงานนั้นเราจะต้องรู้จักหน้าที่และมีความรับผิดชอบ ขยันและขวนขวายแสวงหาความรู้อยู่เสมอทำตัวให้เป็นที่รักของผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
2.       การรักษามารยาทและระเบียบในที่ทำงานการปฏิบัติงานโดยยึดถือระเบียบ เคารพกติกามารยาทจะช่วยให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่นและทำให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ
3.       การสร้างบรรยากาศสดใสในที่ทำงาน การช่วยกันสร้างบรรยากาศที่สดใส เอื้ออาทร สามัคคีในที่ทำงาน จะช่วยทำให้เกิดรอยยิ้มในที่ทำงาน ทำให้เกิดความสุขและประสิทธิภาพในการทำงาน

4.       การสร้างสัมพันธภาพที่ดี การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน ทั้งในระดับผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา จะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นเกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน

รายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา 2556 ประเด็นความรู้ : การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ หัวข้อการจัดการความรู้ : เทคนิคการสอน

รายงานสรุปองค์ความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ประจำปีการศึกษา 2556
การจัดการความรู้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
ประเด็นความรู้              :  การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ
หัวข้อการจัดการความรู้   :  เทคนิคการสอน
วันเดือนปีที่ดำเนินการ     :  30 สิงหาคม – 1 กันยายน 2556
ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้         1. ดร.บัณฑิตย์             อันยงค์
                                       2. ผศ.นิติญา               สังขนันท์
                                                3. ดร.พีรพงษ์              พึ่งแย้ม
                                      4. ดร.ป.ปัทมา             เหมมาชูเกียรติกุล
                                      5. นางสาวฐิตติมา         ธัญญานิติ
                                      6. นายหาญพล            มิตรวงศ์
                                      7. นายอนันต์              สันติอมรทัต
สรุปองค์ความรู้ที่ได้      : เทคนิคการสอนที่สร้างความเข้าใจเป็นขั้นตอนโดยถอดบทเรียนประเด็นความรู้ การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ หัวข้อการจัดการความรู้ เทคนิคการสอนทำอย่างไรให้ผู้เรียนได้รับความรู้อย่างมีคุณภาพ ดังนี้
1.       ทบทวนเนื้อหาก่อนเรียน
2.       ทดสอบก่อนการเรียน
3.       สร้างความเป็นกันเองกับผู้เรียน
4.       การนำเสนอรายงานกลุ่ม
5.       ใช้เทคนิคเพื่อนสอนเพื่อนเป็นรายบุคคล
6.       การดูงานและศึกษานอกสถานที่
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จ :
1.       วิธีการอภิปรายกลุ่มย่อย  การนิรนัย  การสาธิต และการบรรยาย
2.       ใช้เทคนิคการอธิบายและยกตัวอย่าง  การใช้วาจากิริยาท่าทางและสื่อความหมาย   การใช้สื่อการสอน
3.       การฝึกและการปฏิบัติ  การสรุป  การพัฒนาการคิด  การสอดแทรกคุณธรรม  จริยธรรมในชั้นเรียน

4.       การใช้กระบวนการกลุ่ม  และการสร้างอารมณ์ขัน

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

จดหมายข่าวจาก ScienceKM ฉบับที่ 10 เดือนกันยายน 2556

ประโยชน์ของการจัดการความรู้

1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร
2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา ในกรณีที่บุคคลากรเกษียณอายุ ลาออก หรือเสียชีวิต
3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด
4. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่นๆ ในองค์กร และนำความรู้ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เป็นการการพัฒนาคน และพัฒนาองค์กร
5. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น เพราะมีสารสนเทศ หรือแหล่งความรู้เฉพาะที่มีหลักการ เหตุผล และน่าเชื่อถือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
6. ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ช่วยเพิ่มความกลมเกลียวในหน่วยงาน
7. เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที
8. แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน ซึ่งเป็นการสร้างความท้าทายให้องค์กรผลิตสินค้าและบริการจากความรู้ที่มี เพื่อเพิ่มคุณค่า และรายได้ให้กับองค์กร
9. เพื่อการสร้างสรรค์ และบรรลุเป้าหมายของจินตนาการที่ยิ่งใหญ่
10. เปลี่ยนวัฒนธรรม จาก วัฒนธรรมอำนาจในแนวดิ่ง ไปสู่วัฒนธรรมความรู้ในแนวราบ  ซึ่งทุกคนมีสิทธิในการเรียนรู้เท่าเทียมกัน

ทำไมต้องทำการจัดการความรู้ (KM)

1. เมื่อมีบุคคลเกษียณอายุ  ย้ายหรือลาออก  มักมีผลกระทบกับงาน
2. เวลามีปัญหาในการทำงาน ไม่ทราบว่าจะไปถามผ้ที่มีความรู้เรื่อง  นั้นๆ ได้ที่ไหน
3. ใช้เวลานานในการค้นหาข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่หาไม่ค่อยพบหรือไม่สมบูรณ์
4. มีข้อมูลสารสนเทศท่วมท้น  แต่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
5.  มีผู้ทรงความรู้มากมายแต่ไม่มีใครสนใจในการแบ่งปันและเพิ่มพูนความรู้
                                 **********



วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จดหมายข่าวจาก ScienceKM ฉบับที่ 9 เดือนสิงหาคม 2556

 วิธีการทำ KM ในองค์กร

ขั้นตอนแรกจะ ต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนว่าสิ่งที่องค์กรต้องการจากการจัดการความรู้ คืออะไร เรียกว่า กำหนดเป้าหมาย ( Desired State ) ซึ่งการกำหนดเป้าหมายอาจจะพิจารณาจากยุทธศาสตร์ขององค์กรหรือจากปัญหาของ องค์กร

ขั้นตอนที่ 2. เมื่อได้เป้าหมายแล้วก็ต้องวางแผนและกิจกรรมที่จะสนับสนุนตาม 6 องค์ประกอบ ที่เรียกว่า วงจรการจัดการความรู้ (Change Management Process) ดังนี้
       • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การทำให้คนในองค์กรอยากเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ ความรู้ จนทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนแบ่งปันและการเรียนรู้
       • การสื่อสารทำให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจว่า ทำอะไร เพื่ออะไร ทำเมื่อไร และทำอย่างไร โดยสื่อสารอย่างต่อเนื่องจนการแลกเปลี่ยนความรู้และการเรียนกลายเป็น วัฒนธรรม
       • กระบวนการและเครื่องมือ ซึ่งกระบวนการหลักๆ ในการจัดการความรู้มี 7 กระบวนการซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) ส่วนนี้เป็นแกนหลักของการจัดการความรู้ ทั้งหมด
       • การให้ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ให้กับคนในองค์กรไม่ว่าจะฝึกอบรม เอกสาร หรือไฮเทค อย่างไรก็ได้ ตามความเหมาะสมขององค์กร ที่สำคัญคือพยายามสอดแทรกความรู้ด้านการจัดการความรู้เข้าไปบ่อย ๆ
       • การวัดผล การดำเนินการตามแผน ผลผลิตที่ได้และผลภัณฑ์จากการจัดการความรู้ ในช่วงแรกของการดำเนินการอาจจะวัดเพียงความก้าวหน้าตามกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดในแผนก็พอ
       • การยกย่องชมเชยและให้รางวัล เป็นการจูงใจให้คนในองค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กันมากขึ้น

ขั้นตอนที่ 3. จัดทำ KM Process ซึ่งมี 7 ขั้นตอน คือ
       3.1 บ่งชี้ความรู้ เป็นการค้นหาว่า ความรู้ที่สำคัญ ต่อการบรรลุเป้าหมาย คืออะไร อยู่ที่ใคร ยังขาดความรู้อะไร
       3.2 การสร้างและแสวงหาความรู้ เป็นการหาวิธีในการดึงเอาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ในข้อ 3.1 บางส่วนความรู้ที่ยังขาดอยู่จะสร้างอย่างไร อาจจะศึกษาต่อยอดความรู้เดิมหรือนำความรู้ภายนอกองค์กรมาใช้
       3.3 การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เมื่อได้เนื้อหาความรู้มาแล้วต้องมีการแบ่งประเภทความรู้จัดทำสารบัญเพื่อ ให้การเก็บรวบรวมและการค้นหาได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว
       3.4 การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ก่อนนำเข้าสู่ระบบจะต้องปรับปรุงเนื้อหา การใช้ภาษาให้เป็นภาษาเดียวกัน (เช่น คำว่า ด้านเขตกรรม ด้านปรับปรุงการผลิตจะใช้คำใดก็ใช้คำเดียว เพื่อไม่ให้ผู้ที่นำความรู้ไปใช้สับสน) รวมทั้งรูปแบบของข้อมูล เพื่อความสะดวกในการป้อนเข้าสู่ระบบ
       3.5 การเข้าถึงความรู้ เป็นการกำหนดวิธีการกระจายความรู้สู่ผู้ใช้อาจทำเป็นสมุดหน้าเหลือง (บอกว่ามีข้อมูลเรื่องที่ต้องการอยู่ที่ใดและเข้าถึงข้อมูลนั้นอย่างไร แทนที่จะเป็นเบอร์โทรศัพท์) ซึ่งความรู้อาจจัดเก็บเป็นรูปแบบง่าย ๆ ยากขึ้นอีกนิดก็ทำเป็นฐานความรู้ IT การจัดอบรม การจัดให้มีระบบสอนงานแบบพี่เลี้ยง ซึ่งมีวิธีการอื่น ๆ อีกหลายวิธีที่ทำให้ความรู้นั้นถูกคนในองค์กรนำไปใช้
       3.6 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ เป็นการจัดให้มีช่องทางการถ่ายเทความรู้ จากผู้รู้ ทั้งที่เป็น Tacit Explicit เช่น ผู้รู้จัดทำเอกสารคู่มือ บันทึกประสบการณ์ จัดทำ CD VDO การปฏิบัติงานสำหรับผู้สนใจไว้ศึกษาเป็นต้น ส่วน Tacit Tacit เช่นการเป็นพี่เลี้ยงสอนงาน การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้การจัด hot line สายด่วนผู้เชี่ยวชาญเป็นต้น
       3.7 การเรียนรู้ (Learning) เมื่อความรู้ขององค์กรมีการนำไปใช้จนเกิดการเรียนรู้และเกิดองค์ความรู้ใหม่ กลับมาให้องค์กร (ไม่ใช่ความรู้ใหม่แล้วเก็บไว้กับตัว) โดยแลกเปลี่ยนแบ่งปันให้ผู้อื่นนำไปใช้อีก การเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญในการทำให้เกิดองค์ความรู้ขององค์กรเพิ่มขึ้น ซึ่งองค์กรจะมีวิธีการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ อย่างไร (อาจจะกำหนดให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลงานบุคลากร เป็นต้น)

แหล่งที่มาของข้อมูล   http://researchers.in.th/blog/tkm/325